วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

ภาคผนวก

ศัพท์ควรรู้




การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA)
          เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งในทางบวก และทางลบจากการพัฒนาโครงการหรือกิจการที่สำคัญ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการกิจการ ผลการศึกษาจัดทำเป็นเอกสารเรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE)
          เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการที่เสนอ มักใช้ข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่หรือข้อมูลที่สามารถหาได้ทันที IEE เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบว่าจะต้องทำEIA ต่อหรือไม่สำหรับประเทศไทยได้นำมาใช้ในการกำหนดให้โครงการที่คาดว่ามีผลกระทบสิ่งแวดล้อมบางประเภทที่มีขนาดเล็กหรือไม่มาก จัดทำเป็นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

การกลั่นกรองโครงการ (Screening)
          เป็นกระบวนการเพื่อตัดสินใจว่า โครงการที่เสนอนั้นจำเป็นต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่ การกลั่นกรองจะเกี่ยวข้องกับการใช้วิจารณญาณพิจารณาว่าผลกระทบจากโครงการที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้นอยู่ในระดับ มีนัยสำคัญหรือไม่

การกำหนดขอบเขต (Scoping)
          เป็นกระบวนการในการชี้ประเด็นที่สำคัญ ทางเลือกที่จำเป็นต้องมีการศึกษาและประเมิน ทั้งนี้ เนื่องจากหัวข้อในเรื่องสิ่งแวดล้อมมีหลากหลาย ดังนั้น การกำหนดขอบเขต จึงทำให้การศึกษาในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตรงประเด็น ลดความขัดแย้ง ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการศึกษาด้วยผลที่ได้จากการกำหนดขอบเขตจะนำไปจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่า ขอบเขตการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (Terms of Referrence, TOR)

การมีส่วนร่วมของประชาชน
          เป็นกระบวนการที่นำเอาความห่วงกังวลของสาธารณชน ความต้องการและค่านิยมผนวกเข้ไปกับการดำเนินการตัดสินใจของรัฐ กระบวนมีส่วนร่วมของสาธารณชนจึงเป็นสื่อกลางสองทาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีกว่าที่สาธารณชนโดยส่วนราชการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public Participation in EIA)เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public participation in EIA)
          เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม

การศึกษาถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ EHIA
            EHIA
 มาจากตัวย่อของ EIA และ HIA ซึ่งเป็นการศึกษาถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่ง HIA จะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลกระทบใน EIA โดย EIA เป็นตัวย่อมาจาก Environmental Impact Assessment ซึ่งหมายถึง  การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง



ทำไมต้องมีการทำ EHIA          เนื่องจากมีโครงการพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นของรัฐ และเอกชน จึงจำเป็นต้องมีการทำ EIA และ HIA เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมหรือเรื่องสุขภาพ


EIA กับ EHIA ต่างกันอย่างไร 
          EIA (Environmental Impact Assessment) คือ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการต่างๆ ของรัฐและเอกชน เช่น เขื่อน โรงไฟฟ้า ถนน สนามบิน ที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทั้งด้านบวกและลบ เพื่อเตรียมการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขก่อนจะเริ่มสร้างโครงการนั้น
          ส่วน EHIA (Environmental Health Impact Assessment) เป็นรายงานส่วนหนึ่งของ EIA อีกที แต่จะเน้นที่ ผลกระทบต่อสุขภาพ” ของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการนั้น
          หลายประเทศออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ บังคับให้ภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ต้องทำ EIA และ EHIA ก่อนสร้างโครงการต่างๆ โดยเริ่มจากกระบวนการกลั่นกรองโครงการ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อกําหนดขอบเขตการศึกษาและประเมินระดับผลกระทบ จากนั้นต้องจัดเวทีรับฟังการทบทวนร่างรายงานอีกครั้งเพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบ ก่อนจะทำรายงาน EIA หรือ EHIA เสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และหน่วยงานอนุญาต
          เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว สผ. จะส่งรายงาน EIA หรือ EHIA ไปขอความเห็นประกอบจากองค์กรอิสระ ขั้นตอนสุดท้ายหน่วยงานผู้มีอํานาจอนุมัติจะเผยแพร่เหตุผลและคําชี้แจงการตัดสินใจต่อสาธารณะและบนเว็บไซต์

          เพราะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมบ้านเรากำลังขยายตัวรวดเร็ว ถ้ามีแต่ผู้สร้างสิ่งต่างๆ โดยมุ่งแต่ผลตอบแทนทางธุรกิจ ไม่สำรวจผลกระทบก่อนดำเนินโครงการ ย่อมมีโอกาสก่อปัญหาทรัพยากร สิ่งแวดล้อมไปจนถึงสุขภาพประชาชน EIA และ EHIA จึงเป็นเหมือนประตูด่านแรกที่จะปิดกั้นผลเสียต่างๆ สู่ชุมชน เพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย





แหล่งอ้างอิง

http://www.onep.go.th
http://th.wikipedia.org
http://stcenvironment.igetweb.com
http://www.reo13.go.th
http://www.rmuti.ac.th
http://arts.kmutt.ac.th
https://econenv536.wordpress.com
http://www.sarakadee.com
http://www.tpa.or.th

บทที่5 : ประโยชน์ที่ได้รับจาก EIA

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม



          สามารถใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและจะช่วยในการมองปัญหาต่างๆ ได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมที่มองเพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก อันก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรธรรมชาติตามมา ช่วยพิจารณาผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความรุนแรงจากการพัฒนาโครงการ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินการ สามารถแน่ใจว่าได้คาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญอันเกิดขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเลือกมาตรการที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและค่าใช้จ่ายน้อย ช่วยเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงาน แผนการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ผลการ ศึกษาเป็นข้อมูลที่จะให้ความ กระจ่างต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรได้ แนวทางกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายหลังได้เป็นหลักประกันในการใช้ทรัพยากรที่ยาวนาน ( long - term sustainable development ) 



บทที่4 : หน่วยงานผู้พิจารณารายงาน EIA

หน่วยงานผู้พิจารณารายงาน EIA

            เมื่อการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าของโครงการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ จะส่งรายงานฯให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นของรายงานฯก่อน แล้วนำเสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายสำหรับโครงการหรือกิจกรรมนั้น เพื่อพิจารณาเห็นชอบกับรายงานฯ ก่อนที่จะออกใบอนุญาตได้ในกรณีที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการไม่เห็นชอบกับรายงานฯ ให้หน่วยงานผู้อนุญาตออกใบอนุญาตไม่ได้จนกว่าจะมีการแก้ไขรายงานฯ จนคณะกรรมการฯมีมติให้ความเห็นชอบ







เกี่ยวกับ สวผ.

            กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ 15 สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

            (1) ดำเนินการเพื่อให้มีการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมของภาครัฐ
หรือภาคเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ ขั้นตอน ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้อง

            (2) ศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ
หรือกิจกรรมของภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง
รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายหลังการดำเนินโครงการ

            (3) ศึกษา วิเคราะห์ และประสานงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมรายสาขาและระดับ
พื้นที่ เพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย แผนแม่บท หรือแผนพัฒนาที่อาจมีผลกระทบสิ่งแวดล้อม

            (4) ศึกษา วิเคราะห์ และสนับสนุนการกระจายอำนาจการพิจารณารายงาน การวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมบางประเภท ขนาด และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นให้หน่วยงาน
ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

            (5) สนับสนุนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางและเทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ดำเนินการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานที่ได้รับการกระจายอำนาจการพิจารณารายงาน
รวมทั้งกำกับดูแล และประเมินผลการดำเนินงานด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

            (6) ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทน
ใบอนุญาต และการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นผู้ชำนาญการในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

            (7) กำกับ ดูแล ติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการหรือ
กิจการที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาระบบ
รูปแบบ และวิธีที่เหมาะสมในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนติดตามตรวจสอบ และประเมินผล
กระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนา

            (8) ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาฐานข้อมูลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและข้อมูล
การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

            (9) ดำเนินการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม โดยกำหนดรูปแบบ วิธีการ ขั้นตอน และแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งประสาน
การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

            (10) ให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แนวทางการจัด
การสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการหรือ
กิจกรรมของภาครัฐหรือภาคเอกชน

            (11) ปฏิบัติงานในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ

            (12) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ
มอบหมาย

บทที่3 : โครงการที่ต้องจัดทำรายงาน EIA

โครงการที่ต้องจัดทำรายงาน EIA


            ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

            กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 


ขั้นตอนการพิจารณารายงาน EIA
            ขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

กรณีโครงการหรือกิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการ 
และโครงการหรือกิจการที่ไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากทางคณะรัฐมนตรี



   กรณีโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน 
ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

กรณีโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯ 
สำหรับโครงการหรือกิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการ 
และโครงการหรือกิจการที่ไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี


กรณีโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงฯ 
ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ 
กรณีโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน 
ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี


บทที่2 : ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

หลักการ
          การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือที่มักเรียกกันว่า EIA ย่อมาจากคำว่า Environmental Impact Assessment ซึ่งหมายถึง การใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบของการดำเนินโครงการพัฒนา ที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นให้เกิดน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่าที่สุด        
          นอกจากนี้ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของนักบริหารว่าสมควรดำเนินการหรือไม่ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะเป็นประโยชน์อย่างมาก หากได้รับการนำมาในการวางแผนป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนศึกษาความเหมาะสมของโครงการจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังดำเนินโครงการไปแล้ว และเป็นวิสัยทัศน์ของนักบริหารโครงการในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มุ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข


หลักการจัดทำ EIA
1.      การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นการตัดสินใจก่อนการพัฒนา
2.      การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นการศึกษาเฉพาะกรณี เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจพัฒนาโครงการ ใดโครงการหนึ่ง
3.      การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของโครงการพัฒนา
4.      การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นการศึกษาปัญหาหลาย ๆ แง่มุมเพื่อวิเคราะห์หาผลกระทบที่จะ เกิดขึ้น
5.      การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต้องอาศัยหลักการป้องกันสิ่งแวดล้อม ประการ คือ การวางแผนการ ใช้ที่ดิน และการควบคุมมลพิษ
         
          ดังนั้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม นอกจากจะแสดงให้เห็นผลกระทบอันเกิดจากการดำ เนินโครงการแล้วยังเน้นให้มีการป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปทุกขั้นตอนของการวางแผนและออกแบบโครงการ ด้วยหลักการก็ คือ ให้มีการป้องกันไว้ก่อนนั่นคือให้มีการพิจารณาทางเลือกของโครงการเพื่อที่จะสามารถเปรียบ เทียบ พิจารณาทางเลือกที่มีผลกระทบทางลบน้อยที่สุด และให้ประโยชน์หรือผลกระทบในทางบวกมากที่สุด




องค์ประกอบ
          การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อจำแนกและคาดคะเนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก  โครงการ /กิจกรรม ตลอดจนเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขผลกระทบ (Mitigation Measure) และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Monitoring Plane) ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและดำเนินโครงการ

          โด
ยการจัดทำ EIA  ประกอบด้วย การศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม ด้าน คือ

          1.      ทรัพยากรกายภาพ
                    เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง
 
                   ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
          2.      ทรัพยากรชีวภาพ
                    การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่มีต่อระบบนิเวศน์ 
                    เช่น  ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น
          3.    คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
                    เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยาการทั้งทางกายภาพ 
                    และชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน
          4.      คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต
                    ซึ่งจะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อมนุษย์ ชุมชน 
                    ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ 
                    ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่า ความสวยงาม 


ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ประกอบด้วย
     1. การกลั่นกรองโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
     2. การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
     3.  การพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
     4.  การติดตามตรวจสอบ

บทที่1 : ความเป็นมา EIA ในประเทศไทย

ความเป็นมาของ EIA ในประเทศไทย


ประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 ซึ่งได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น มีอำนาจหน้าที่ คือ
1.      เสนอนโยบายและความเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2.      ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการ ที่อาจส่งผลเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ พ.ศ. 2521 ทั้งนี้เนื่องจากพระราชบัญญัติ ฉบับที่ มิได้มีการระบุให้แน่ชัดเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติบางเรื่อง จึงก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ดังนั้น จึงได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติ ฉบับที่ พ.ศ. 2518 โดยได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ชัดเจนและรัดกุมขึ้นกว่าเดิมรวม ประการ คือ
1.      กำหนดให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการพัฒนาของรัฐและกิจกรรมบางประเภทของเอกชน
2.      ให้อำนาจในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่มิได้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยราชการใด ตลอดจนการกำหนดวิธีการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3.      ดำเนินการในด้านการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในกรณีที่ฉุกเฉิน

สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสามารถเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อเอื้ออำนวยต่อการบริหารสิ่งแวดล้อม และแก้ไขอุปสรรคและข้อขัดข้องในทางปฏิบัติได้

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2524 สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ หรือกิจการบางประเภทและบางขนาด โดยอาศัยอำนาจตามประกาศกฎกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2524 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่าง ๆ ที่มีต่อมนุษย์ที่อาจจะถูกกระทบกระเทือน เนื่องจากโครงการหรือกิจการนั้น ๆ (สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2527)

ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกฎหมายสิ่งแวดล้อมออกเป็น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535ในส่วนของการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ปรากฏใน ส่วนที่ มาตราที่ 46 ถึง มาตราที่ 51
กฎหมายฉบับดังกล่าวได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์แก่ผู้รักษาการ (แต่ยังมิได้ระบุไว้ในมาตราโดยตรง) วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องนำเสนอพร้อมรายงานฯ เพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ระบุไว้ชัดในมาตราที่ 56 โดยมีประเด็นหลักที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชุมชน จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการใด ๆ หากไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อน ดังนั้น จากกฎหมายหลักฉบับนี้ของไทย ทำให้กฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว


ตัวอย่างประเภทและขนาดโครงการ
หรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงาน 
EIA

 ลำดับ  
ประเภทโครงการหรือกิจกรรม
ขนาด
1.
เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ
ที่มีปริมาณเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100,000,000 ลบ.ม.
ขึ้นไปหรือมีพื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ 15 ตร.กม. ขึ้นไป                                                        
2.
กรมชลประทาน
ที่มีพื้นที่การชลประทาน ตั้งแต่ 80,000 ไร่ ขึ้นไป
3.
สนามบินพาณิชย์
ทุกขนาด
4.
โรงแรมหรือสถานที่พักตากออากาศ
ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
5.
ระบบทางพิเศษตางกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษ   หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับทางพิเศษ หรือระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ราง
ทุกขนาด
6.
การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
ทุกขนาด
7.
นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่านิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม
ทุกขนาด
8.
ท่าเรือพาณิชย์
ที่สามารถรับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป
9.
โรงไฟฟ้าพลังความร้อน
ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป
10.
การอุตสาหกรรม
                                              
(1) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่ใช้วัตถุซึ่งได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และ/หรือการแยกก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิต
ตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป
(2) อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
ทุกขนาด
(3) อุตสาหกรรมแยกหรือแปลสภาพก๊าซธรมชาติ
ทุกขนาด
(4) อุตสาหกรรมคลอ-แอลคลอไลน์ ที่ใช้ในการผลิตโซเดียมคาร์บอเนต  โซเดียมไฮดรอกไซด์  กรดไฮโดรคลอริค   คลอรีน โซเดียมไฮโพคลอไรด์ และปูนคลอรีน
ที่มีกำลังการผลิตสารดังกล่าวแต่ละชนิดหรือ
รวมกันตั้งแต่ 10 ตันต่อวันขึ้นไป
(5) อุตสาหกรรมเหล็กและ/หรือเหล็กกล้า
ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป
(6) อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์
ทุกขนาด
(7) อุตสาหกรรมถลุงแร่หรือหลอมโลหะ ซึ่งมิใช่อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า
ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป
(8) อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ
ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป
11.
โครงการทุกประเภทที่อยู่ในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เห็นชอบกำหนดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น บี
ทุกขนาด
12.
การถมที่ดินในทะเล
ทุกขนาด
13.
อาคารที่ตั้งอยู่ริมน้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรือ ชายหาด หรือที่อยู่ใกล้ หรือในอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
1.ความสูงตั้งแต่ 23.00 เมตร ขึ้นไป หรือ
2.มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดใน
หลังเดียวกัน  ตั้งแต่10,000 ตารางเมตรขึ้นไป 
14.
อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
15.
การจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการพาณิชย์
จำนวนที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป
หรือเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่
16.
โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
(1) กรณีตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรือชายหาด ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(2) กรณีโครงการที่ไม่อยู่ในข้อ (1)

1.ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 30 เตียง ขึ้นไป

2.ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 60 เตียง ขึ้นไป 
17.
อุตสาหกรรมผลิตสารออกฤทธิ์ หรือสารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชสัตว์โดยกระบวนการทางเคมี
ทุกขนาด
18.
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีโดยกระบวนการทางเคมี
ทุกขนาด
19.
ทางหลวงหรือถนนซึ่งมีความหมายตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ตัดผ่านพื้นที่ดังต่อไปนี้

(1) พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
(2) พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
(3) พื้นที่เขตลุ่มน้ำชั้น ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว
(4) พื้นที่เขตป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
(5) พื้นที่ชายฝั่งทะเลในระยะ 50 เมตร ห่างจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด



ทุกขนาดที่เทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานต่ำ
สุดของทางหลวงชนบทขึ้นไป โดยรวมความถึง
การก่อสร้างคันทางใหม่เพิ่มเติมจากคันทาง
ที่มีอยู่

20.
โรงงานปรับปรุงคุณภาพของเสียรวม เฉพาะสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
ทุกขนาด
21.
อุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาล
ดังต่อไปนี้
(1) การทำน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์  น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
(2) การกลูโคส เดกซ์โทรส ฟรักโทส หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน
ทุกขนาด
22.
การพัฒนาปิโตรเลียม
(1) การสำรวจและ/หรือผลิตปิโตรเลียม
(2) ระบบการขนส่งปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ
ทุกขนาด
ทุกขนาด