วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บทที่1 : ความเป็นมา EIA ในประเทศไทย

ความเป็นมาของ EIA ในประเทศไทย


ประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 ซึ่งได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น มีอำนาจหน้าที่ คือ
1.      เสนอนโยบายและความเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2.      ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการ ที่อาจส่งผลเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ พ.ศ. 2521 ทั้งนี้เนื่องจากพระราชบัญญัติ ฉบับที่ มิได้มีการระบุให้แน่ชัดเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติบางเรื่อง จึงก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ดังนั้น จึงได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติ ฉบับที่ พ.ศ. 2518 โดยได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ชัดเจนและรัดกุมขึ้นกว่าเดิมรวม ประการ คือ
1.      กำหนดให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการพัฒนาของรัฐและกิจกรรมบางประเภทของเอกชน
2.      ให้อำนาจในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่มิได้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยราชการใด ตลอดจนการกำหนดวิธีการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3.      ดำเนินการในด้านการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในกรณีที่ฉุกเฉิน

สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสามารถเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อเอื้ออำนวยต่อการบริหารสิ่งแวดล้อม และแก้ไขอุปสรรคและข้อขัดข้องในทางปฏิบัติได้

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2524 สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ หรือกิจการบางประเภทและบางขนาด โดยอาศัยอำนาจตามประกาศกฎกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2524 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคุณค่าต่าง ๆ ที่มีต่อมนุษย์ที่อาจจะถูกกระทบกระเทือน เนื่องจากโครงการหรือกิจการนั้น ๆ (สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2527)

ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกฎหมายสิ่งแวดล้อมออกเป็น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535ในส่วนของการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ปรากฏใน ส่วนที่ มาตราที่ 46 ถึง มาตราที่ 51
กฎหมายฉบับดังกล่าวได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์แก่ผู้รักษาการ (แต่ยังมิได้ระบุไว้ในมาตราโดยตรง) วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องนำเสนอพร้อมรายงานฯ เพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ระบุไว้ชัดในมาตราที่ 56 โดยมีประเด็นหลักที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชุมชน จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการใด ๆ หากไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อน ดังนั้น จากกฎหมายหลักฉบับนี้ของไทย ทำให้กฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว


ตัวอย่างประเภทและขนาดโครงการ
หรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงาน 
EIA

 ลำดับ  
ประเภทโครงการหรือกิจกรรม
ขนาด
1.
เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ
ที่มีปริมาณเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100,000,000 ลบ.ม.
ขึ้นไปหรือมีพื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ 15 ตร.กม. ขึ้นไป                                                        
2.
กรมชลประทาน
ที่มีพื้นที่การชลประทาน ตั้งแต่ 80,000 ไร่ ขึ้นไป
3.
สนามบินพาณิชย์
ทุกขนาด
4.
โรงแรมหรือสถานที่พักตากออากาศ
ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
5.
ระบบทางพิเศษตางกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษ   หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับทางพิเศษ หรือระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ราง
ทุกขนาด
6.
การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
ทุกขนาด
7.
นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่านิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม
ทุกขนาด
8.
ท่าเรือพาณิชย์
ที่สามารถรับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป
9.
โรงไฟฟ้าพลังความร้อน
ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป
10.
การอุตสาหกรรม
                                              
(1) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ที่ใช้วัตถุซึ่งได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และ/หรือการแยกก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิต
ตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป
(2) อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
ทุกขนาด
(3) อุตสาหกรรมแยกหรือแปลสภาพก๊าซธรมชาติ
ทุกขนาด
(4) อุตสาหกรรมคลอ-แอลคลอไลน์ ที่ใช้ในการผลิตโซเดียมคาร์บอเนต  โซเดียมไฮดรอกไซด์  กรดไฮโดรคลอริค   คลอรีน โซเดียมไฮโพคลอไรด์ และปูนคลอรีน
ที่มีกำลังการผลิตสารดังกล่าวแต่ละชนิดหรือ
รวมกันตั้งแต่ 10 ตันต่อวันขึ้นไป
(5) อุตสาหกรรมเหล็กและ/หรือเหล็กกล้า
ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป
(6) อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์
ทุกขนาด
(7) อุตสาหกรรมถลุงแร่หรือหลอมโลหะ ซึ่งมิใช่อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า
ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป
(8) อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ
ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป
11.
โครงการทุกประเภทที่อยู่ในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เห็นชอบกำหนดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น บี
ทุกขนาด
12.
การถมที่ดินในทะเล
ทุกขนาด
13.
อาคารที่ตั้งอยู่ริมน้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรือ ชายหาด หรือที่อยู่ใกล้ หรือในอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
1.ความสูงตั้งแต่ 23.00 เมตร ขึ้นไป หรือ
2.มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดใน
หลังเดียวกัน  ตั้งแต่10,000 ตารางเมตรขึ้นไป 
14.
อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
15.
การจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการพาณิชย์
จำนวนที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป
หรือเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่
16.
โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
(1) กรณีตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรือชายหาด ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(2) กรณีโครงการที่ไม่อยู่ในข้อ (1)

1.ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 30 เตียง ขึ้นไป

2.ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 60 เตียง ขึ้นไป 
17.
อุตสาหกรรมผลิตสารออกฤทธิ์ หรือสารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชสัตว์โดยกระบวนการทางเคมี
ทุกขนาด
18.
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีโดยกระบวนการทางเคมี
ทุกขนาด
19.
ทางหลวงหรือถนนซึ่งมีความหมายตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ตัดผ่านพื้นที่ดังต่อไปนี้

(1) พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
(2) พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
(3) พื้นที่เขตลุ่มน้ำชั้น ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว
(4) พื้นที่เขตป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
(5) พื้นที่ชายฝั่งทะเลในระยะ 50 เมตร ห่างจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด



ทุกขนาดที่เทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานต่ำ
สุดของทางหลวงชนบทขึ้นไป โดยรวมความถึง
การก่อสร้างคันทางใหม่เพิ่มเติมจากคันทาง
ที่มีอยู่

20.
โรงงานปรับปรุงคุณภาพของเสียรวม เฉพาะสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
ทุกขนาด
21.
อุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาล
ดังต่อไปนี้
(1) การทำน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์  น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
(2) การกลูโคส เดกซ์โทรส ฟรักโทส หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน
ทุกขนาด
22.
การพัฒนาปิโตรเลียม
(1) การสำรวจและ/หรือผลิตปิโตรเลียม
(2) ระบบการขนส่งปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ
ทุกขนาด
ทุกขนาด

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น