วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

ภาคผนวก

ศัพท์ควรรู้




การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA)
          เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งในทางบวก และทางลบจากการพัฒนาโครงการหรือกิจการที่สำคัญ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการกิจการ ผลการศึกษาจัดทำเป็นเอกสารเรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE)
          เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการที่เสนอ มักใช้ข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่หรือข้อมูลที่สามารถหาได้ทันที IEE เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบว่าจะต้องทำEIA ต่อหรือไม่สำหรับประเทศไทยได้นำมาใช้ในการกำหนดให้โครงการที่คาดว่ามีผลกระทบสิ่งแวดล้อมบางประเภทที่มีขนาดเล็กหรือไม่มาก จัดทำเป็นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

การกลั่นกรองโครงการ (Screening)
          เป็นกระบวนการเพื่อตัดสินใจว่า โครงการที่เสนอนั้นจำเป็นต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่ การกลั่นกรองจะเกี่ยวข้องกับการใช้วิจารณญาณพิจารณาว่าผลกระทบจากโครงการที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้นอยู่ในระดับ มีนัยสำคัญหรือไม่

การกำหนดขอบเขต (Scoping)
          เป็นกระบวนการในการชี้ประเด็นที่สำคัญ ทางเลือกที่จำเป็นต้องมีการศึกษาและประเมิน ทั้งนี้ เนื่องจากหัวข้อในเรื่องสิ่งแวดล้อมมีหลากหลาย ดังนั้น การกำหนดขอบเขต จึงทำให้การศึกษาในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตรงประเด็น ลดความขัดแย้ง ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการศึกษาด้วยผลที่ได้จากการกำหนดขอบเขตจะนำไปจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่า ขอบเขตการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (Terms of Referrence, TOR)

การมีส่วนร่วมของประชาชน
          เป็นกระบวนการที่นำเอาความห่วงกังวลของสาธารณชน ความต้องการและค่านิยมผนวกเข้ไปกับการดำเนินการตัดสินใจของรัฐ กระบวนมีส่วนร่วมของสาธารณชนจึงเป็นสื่อกลางสองทาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีกว่าที่สาธารณชนโดยส่วนราชการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public Participation in EIA)เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Public participation in EIA)
          เป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม

การศึกษาถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ EHIA
            EHIA
 มาจากตัวย่อของ EIA และ HIA ซึ่งเป็นการศึกษาถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่ง HIA จะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลกระทบใน EIA โดย EIA เป็นตัวย่อมาจาก Environmental Impact Assessment ซึ่งหมายถึง  การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง



ทำไมต้องมีการทำ EHIA          เนื่องจากมีโครงการพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นของรัฐ และเอกชน จึงจำเป็นต้องมีการทำ EIA และ HIA เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมหรือเรื่องสุขภาพ


EIA กับ EHIA ต่างกันอย่างไร 
          EIA (Environmental Impact Assessment) คือ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการต่างๆ ของรัฐและเอกชน เช่น เขื่อน โรงไฟฟ้า ถนน สนามบิน ที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทั้งด้านบวกและลบ เพื่อเตรียมการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขก่อนจะเริ่มสร้างโครงการนั้น
          ส่วน EHIA (Environmental Health Impact Assessment) เป็นรายงานส่วนหนึ่งของ EIA อีกที แต่จะเน้นที่ ผลกระทบต่อสุขภาพ” ของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการนั้น
          หลายประเทศออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ บังคับให้ภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ต้องทำ EIA และ EHIA ก่อนสร้างโครงการต่างๆ โดยเริ่มจากกระบวนการกลั่นกรองโครงการ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อกําหนดขอบเขตการศึกษาและประเมินระดับผลกระทบ จากนั้นต้องจัดเวทีรับฟังการทบทวนร่างรายงานอีกครั้งเพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบ ก่อนจะทำรายงาน EIA หรือ EHIA เสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และหน่วยงานอนุญาต
          เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว สผ. จะส่งรายงาน EIA หรือ EHIA ไปขอความเห็นประกอบจากองค์กรอิสระ ขั้นตอนสุดท้ายหน่วยงานผู้มีอํานาจอนุมัติจะเผยแพร่เหตุผลและคําชี้แจงการตัดสินใจต่อสาธารณะและบนเว็บไซต์

          เพราะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมบ้านเรากำลังขยายตัวรวดเร็ว ถ้ามีแต่ผู้สร้างสิ่งต่างๆ โดยมุ่งแต่ผลตอบแทนทางธุรกิจ ไม่สำรวจผลกระทบก่อนดำเนินโครงการ ย่อมมีโอกาสก่อปัญหาทรัพยากร สิ่งแวดล้อมไปจนถึงสุขภาพประชาชน EIA และ EHIA จึงเป็นเหมือนประตูด่านแรกที่จะปิดกั้นผลเสียต่างๆ สู่ชุมชน เพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย





แหล่งอ้างอิง

http://www.onep.go.th
http://th.wikipedia.org
http://stcenvironment.igetweb.com
http://www.reo13.go.th
http://www.rmuti.ac.th
http://arts.kmutt.ac.th
https://econenv536.wordpress.com
http://www.sarakadee.com
http://www.tpa.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น